headnews.gif (3376 bytes) ท่องเที่ยว  บทความพิเศษ   สมัครงาน
เศรษฐกิจ-ธุรกิจ การตลาด   การลงทุน

    URL: www.phukettoday.com/news

ฉบับที่ 625 ประจำเดือน สิงหาคม 2543      
dot.gif (802 bytes)
สารบัญ
ข่าวเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ข่าวท่องเที่ยว
ข่าวสังคม
สมัครงาน
สกู๊ปประจำฉบับ
กลับ Phuket Today
  ใช้งบ 700 ล้าน ยกเครื่องไฟฟ้าภูเก็ต
กฟผ.มองการณ์ไกล ทุ่มงบก้อนโตกว่า 700 ล้าน เนรมิตระบบส่งไฟฟ้าเกาะภูเก็ตใหญ่เพิ่มแรงดันเป็น 230 กิโลโวลต์ รองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว แจงตัวเลขคนภูเก็ตใช้ไฟเปลืองขึ้นเรื่อยๆ จนติดอันดับ 3 ภาคใต้ ชี้สายส่งเส้นใหม่เจ๋ง ใช้ได้เป็นสิบปี แถมไร้ปัญหาไฟตก เผยโครงการคืบหน้ากว่า 80% มั่นใจเสร็จภายในกันยายนนี้ พร้อมแย้มอนาคตอาจสร้างสถานีไฟแรงสูงแห่งที่ 3
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องรัตนโกสินทร์ แกรนด์บอลรูม โรงแรมถาวรแกรนด์พลาซ่า จ.ภูเก็ต การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการค้า กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต เกี่ยวกับแผนการดำเนินการพัฒนาไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนด้านกระแสไฟฟ้าให้กับทางจังหวัด โดยมีนายบรรลือ ธีรเมธาวิทย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการก่อสร้างระบบส่ง และนายวิชัย โพธิรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า กฟผ.ร่วมชี้แจง
นายบรรลือ ธีรเมธาวิทย์ เปิดเผยว่า จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ จ.ภูเก็ต มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 118 เมกะวัตต์ ในปี 2541 และเพิ่มเป็น 126 เมกะวัตต์ในปีที่ผ่านมา และปัจจุบัน จ.ภูเก็ต มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น133 เมกะวัตต์ ซึ่งมากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ รองจากจังหวัดนครศรีธรรมราช และสงขลา อันเป็นผลมากจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งผลให้ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเดิมขนาด 115 กิโลโวลต์ จำนวน 3 วงจร ที่ใช้ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับจังหวัดภูเก็ตไม่สามารถรองรับความต้องการ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตได้อย่างเพียงพอ ทางกฟผ. จึงจำเป็นต้องวางแผนก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงสายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น
เดิมนั้นทางกฟผ. มีแนวคิดที่จะสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงแนวใหม่เพิ่มอีก แต่เกรงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะ ล้อมรอบด้วยพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติป่าสงวน และชายหาด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ประกอบกับสภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น หากสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงแนวใหม่ อาจมีปัญหากับชาวบ้านผู้ถือครองที่ดินได้
ทางกฟผ. จึงได้วางแผนปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า โดยทำการรื้อสายส่งไฟฟ้าเดิมขนาด 115 กิโลโวลต์ออก จำนวน 1 วงจร เพื่อสร้างใหม่ เป็นสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 230 กิโลโวลต์ จำนวน 2 วงจร ตามแนวสายส่งไฟฟ้าเส้นเดิม ซึ่งสายส่งดังกล่าวเป็นสายส่งไฟฟ้าหลัก ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงาไฟยังจุดเชื่อมจังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจากจุดเชื่อมภูเก็ต ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงภูเก็ต 2 โดยก่อสร้างเป็นสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 115 กิโลโวลต์ จำนวน 4 วงจร ซึ่งการปรับปรุงสายส่งทั้งสองสายดังกล่าว จะช่วยให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
"ปัจจุบันงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ จำนวน 4 วงจรนั้น ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 กิโลโวลต์ ระหว่างพังงา-จุดเชื่อมภูเก็ต ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 80 % ส่วนที่เหลือประมาณ 20% เป็นเสาไฟฟ้า 4 ต้น ที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งสาเหตุที่ล่าช้าเป็นเพราะมีปัญหากับราษฎรบางราย ที่ไม่เข้าใจในวิธีการดำเนินงาน ทำให้ต้องเสียเวลาในการชี้แจง คาดว่า จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามแผนที่วางไว้ ประมาณเดือนกันยายนปีนี้"
ขณะนี้ทางกฟผ. ต้องเร่งดำเนินการสายส่งช่วงที่เหลือให้เสร็จโดยเร็ว เนื่องจากการจ่ายไฟฟ้าให้กับจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันส่งผ่านทางสายส่งไฟฟ้าเดิม ที่เหลืออยู่เพียง 2 วงจร ซึ่งหากสายส่งสายใดสายหนึ่งเกิดขัดข้อง ก็จะกระทบผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ต ขณะเดียวกัน เมื่อการก่อสร้างสายส่งชุดใหม่แล้วเสร็จ จะสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ตได้อย่างเพียงพอ ในระยะเวลา 10-20 ปี เนื่องจากสายส่งดังกล่าว สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 960 เมกะวัตต์ ในขณะที่ความตัองการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ตมีประมาณ 100 เมกะวัตต์เศษเท่านั้น นอกจากนี้ระบบไฟฟ้าใหม่จะช่วยให้แรงดันไฟฟ้ามีคุณภาพดีขึ้น ไม่มีปัญหาไฟตก ไฟกระพริบ และยังช่วยประหยัดค่าน้ำมัน ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า คิดเป็นมูลค่าเดือนละเกือบ 2ล้านบาท
นายบรรลือ กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้โครงการนี้จะใช้งบประมาณขั้นต้นสูงถึง 700 ล้านบาท และอาจบานปลายอีก ในส่วนที่ต้องทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ แต่กฟผ. ยังจะไม่มีการปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่